ความชอบด้านดนตรีเป็นผลรวมที่ซับซ้อนของปัจจัยหลายด้าน รวมถึงบุคลิกภาพ วัฒนธรรม บริบททางสังคม และรวมไปถึงการทำงานของระบบประสาท และรสนิยมการฟังเพลง
ดังนั้นการฟังดนตรีนั้นเป็นเหมือนภาพสะท้อนขอตัวตนและประสบการณ์ชีวิตของเรา โดยมีประเด็นสำคัญถึงความแตกต่างทางรสนิยม ความชอบในการฟังดนตรีที่ต่างกันของคนเราดังนี้ค่ะ
บุคลิกภาพ มีงานวิจัยหลายชิ้นเลยทีเดียวที่ได้ระบุว่าความด้านดนตรีของคนเรานั้นมีความเชื่อมโยงกับลักษณะบุคลิกภาพของเรา การเปิดกว้างต่อประสบการณ์ ความมีมโนธรรม การชอบเปิดเผยตัวตน ความยินยอม
โดยสิ่งเหล่านี้มักจะเชื่อมโยงกับดนตรีบางประเภท อาทิ ผู้คนที่มีลักษณะเปิดความมักจะชอบฟังดนตรีที่มีความซับซ้อน เช่น แจ๊ส คลาสสิก ในขณะที่ผู้มีอารมณ์ภายนอกสูงอาจจะชอบดนตรีที่มีพลัง และมีจังหวะมากกว่า อาทิ แนวเพลงฮิปฮอป หรือเพลงแดนซ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ลักษณะของความคิด การศึกษาบางชิ้นบอกไว้ว่าลักษณะการรู้คิดของคนแต่ละคน วิธีคิด การประมวลผลข้อมูล สามารถมีอิทธิพลต่อประเภทของเพลงที่ชอบ อาทิ ผู้ที่ชื่นชอบการคิดเชิงนามธรรม มีระบบความคิดที่ซับซ้อนอาจจะมีแนวโน้มที่จะชอบดนตรีที่มีความซับซ้อน อาทิ แนวเพลงคลาสสิก แนวเพลงแจ๊ส
การรับสัมผัส ความคุ้นเคย บ่อยครั้งที่เราฟังเพลงบางเพลง บางประเภทบ่อยขึ้น เราเคยสังเกตุกันมั้ยค่ะว่าเรามักจะชอบเพลงๆนั้น หรือเพลงแนวนั้นมากขึ้น สิ่งที่เกิดนี้เรียกว่า ผลกระทบจากการที่สัมผัสเพียงอย่างเดียว โดยในทางจิตวิยานั้นการฟังดนตรีประเภทใดประเภทหนึ่งเนิ่น ๆ อาทิ ฟังตั้งแต่เด็ก สามารถที่จะกำหนดความชอบของเราเมื่อเราเติบโตขึ้นอีกด้วย
สภาพแวดล้อม บริบททางสังคม และวัฒนธรรม บริบททางวัฒนธรรมที่บุคคลเติบโตขึ้นก็มีอิทธิพลต่อความชอบทางดนตรีได้เช่นกัน โดยดนตรีบางประเภทมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม หรือเขตภูมภาคเฉพาะ และการสัมผัสกับดนตรีประเภทนี้สามารถกำหนดความชอบส่วนบุคคลได้
นอกจากนี้หากคนรอบข้าง เช่นเพื่อนในกลุ่มฟังก็อาจจะมีผลต่อรสนิยมทางด้านดนตรี เพลงของแต่ละคนได้เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าดนตรีจึงเป็นเครื่องมืออันทรงพลัในการใช้เชื่อมสัมพันธ์ไมตรีทางสังคม รวมถึงเป็นวิธีการแสดงออกถึงตัวตนได้อีกด้วย
อารมณ์ ดนตรีมพลังงานอย่างมากในการกระตุ้นอารมณ์ที่ครุกรุ่นอยู่แล้วให้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เละลักษระนิสัยของผู้คนก็มีกที่จะชอบค้นหาเพลงที่มีความสอดคล้องกับสภาวะอารฒณ์ในขณะนั้น อาทิ เมื่อเวลาที่เรามีความรู้สึกสนุกสนานเราก็มักจะอยากฟังเพลงที่มีจังหวะสนุก หรือเมื่อรู้สึกเศร้า หม่นหมอง เสียใจ ขุ่นเคืองใจก็มักที่จะหาเพลงที่มีจังหวะช้า มีเนื้อหาเศร้านั่นเอง
#การฟังเพลง #จิตวิทยา #สาระ