สัมผัสมนต์อมตะเวอร์ชั่นเมียนมาร์กับมุมใหม่ของเพลงดัง “เสน่หา”

เมื่อกล่าวถึงเพลงดังอย่าง “เสน่หา” หลายคนไม่ว่าจะเป็นคนในยุคอดีตหรือคนรุ่นใหม่น่าจะเคยฟังมาแล้วแม้ว่าจะจำเนื้อหาเพลงได้หรือไม่ได้ก็ตามแต่ท่อนที่ติดหูแน่นอนว่าต้องเป็นท่อนแรก “ความรักเอย เจ้าลอยลมมาหรือไร มาดลจิตมาดลใจ…เสน่หา” ซึ่งได้ยินท่อนนี้ทีไรก็ทำให้อยากหวนกลับไปฟังเพลงลูกกรุงเก่า ๆ ตลอดเวลาทุกที นับเป็นหนึ่งในเพลงอมตะของไทยที่มีเสน่ห์สมชื่อเสน่หาจริง ๆ โดยตัวเพลงจะบอกเล่าถึงความรักที่เกิดขึ้นมาในหัวใจของมนุษย์เราอย่างไม่มีเหตุผล รู้เพียงแค่ว่าพอมีความเสน่หาในตัวอีกฝ่ายก็มีความรักอยู่ภายในใจเสียแล้ว แต่ด้วยความที่เพิ่งรู้จักกับความรักทำให้กลัวว่าอีกฝ่ายจะรักเราอย่างที่เรารักเขาหรือไม่ เพราะหากเขาไม่ได้รักเราหรือหากเขารักเรากับอีกคนเท่าเทียมกันก็คงจะขาดใจเป็นแน่แท้ เพลงเสน่หาจึงเป็นเพลงที่มีความพิเศษในคุณค่าเนื้อเพลง สามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้ทั้งอารมณ์รักแรกและอารมณ์คนผิดหวังในความรักออกมาได้ในทำนองที่ช้าแฝงความงดงามอย่างมาก โดยตอนนี้หากใครยังไม่รู้ว่าเพลง “เสน่หา” ได้มีการนำกลับมาร้องใหม่อีกครั้ง แต่ที่เพิ่มเติมความงามงามแปลกใหม่คือ มี “เพลงเสน่หาเวอร์ชั่นเมียนมาร์” เข้ามาด้วย เป็นไปได้อย่างไร! ใครกันที่เป็นต้นคิด? แล้วจะเข้ากันได้เหมือนเวอร์ชั่นไทยต้นฉบับหรือเปล่าเราจะมาบอกเล่ากัน ทำความรู้จักกับเพลง “เสน่หา Version เมียนมาร์” เพลง “เสน่หา Version เมียนมาร์” เป็นเพลงเสน่หาที่ถูกนำไปปรับดัดแปลงบทประพันธ์ใหม่เป็นภาษาเมียนมาร์ที่มีความลึกซึ้งโดย “NAY WIN HTUN” และได้สองศิลปินชายหญิงคุณภาพอย่างนักแสดงชาวเมียนมาร์ชื่อดังอย่าง “เดาง์ (Daung)” กับนักร้องหญิงชาวไทย “สยาภา สิงห์ชู” มาขับขานคู่กันพร้อมประสานเสียงทรงพลังภายใต้ทำนองและความหมายที่ช้าตามเอกลักษณ์และใส่การบรรเลงดนตรีไทยเข้าไปทำให้มีความซอฟต์ดูคลาสสิกขึ้น อีกทั้งใช้เสียงคลอในการร้องแบบฮัมสูงลากยาวตามศิลปะการร้องเพลงเมียนมาร์ดั้งเดิมเป็นมนต์เสน่ห์เข้ากับการนำมาใช้ประกอบเรื่องราวในซีรีย์ดังที่เพิ่งจบไป ชื่อว่า “จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี” โดยซีรีย์ “จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี” ซึ่งเป็นเรื่องราวรักโรแมนติกอิงประวัติศาสตร์ของสาวผู้ช่วยเชฟชาวไทยที่ได้มีโอกาสมาทำงานในโรงแรมย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์จนได้พบกับหนังสือโบราณเรื่องอิเหนา ฉบับภาษาเมียนมาร์ซึ่งเธอก็ร่ายรำตามท่วงท่าในหนังสือจนเกิดความมหัศจรรย์ที่ทำให้ตัวเธอย้อนเวลามายังแผ่นดินอังวะเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อนในช่วงหลังกวาดต้อนคนมาจากกรุงศรีอยุธยาหลังเสียกรุงครั้งที่สองซึ่งเธอก็เข้ามาอยู่ในร่างของ “ปิ่น” […]